การลาออกต้องรอให้บริษัทอนุมัติหรือไม่?
ปัญหาน่าหนักใจของมนุษย์เงินเดือน บางครั้งขนาดจะลาออกอยู่แล้วก็ยังเป็นปัญหา ยื่นใบลาออกไปแล้วแท้ๆ ยังต้องมาลุ้นอีกว่าเจ้านายจะอนุมัติหรือไม่ เรามาดูกันค่ะ ว่าถ้าใจเราไม่อยากอยู่ อยากจะออกแล้ว ออกได้ยัง
ผู้เข้าชมรวม
976
ผู้เข้าชมเดือนนี้
4
ผู้เข้าชมรวม
การลาออกต้องรอให้บริษัทอนุมัติหรือไม่?
สัญญาจ้างแรงงานเป็นนิติกรรม 2 ฝ่าย คือฝ่ายนายจ้าง กับฝ่ายลูกจ้าง ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายมีสิทธิยกเลิกสัญญาได้ การลาออกไม่จำเป็นต้องรอการอนุมัติจากบริษัท เพราะลูกจ้างแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างเอาไว้ในใบลาออกแล้วว่าต้องการจะให้การจ้างมีผลสิ้นสุดเมื่อไหร่ ดังนั้น เมื่อถึงกำหนดวันที่ลูกจ้างระบุไว้ในใบลาออก ลูกจ้างจึงไม่ต้องมาทำงานอีกต่อไป
เรื่องลาออกอาจจะเหมือนจบได้ง่าย ๆ เพียงแค่กระดาษแผ่นเดียวเท่านั้น แต่อย่าลืมว่าบริษัทส่วนใหญ่มักจะมีระเบียบข้อบังคับเป็นของตัวเอง ระเบียบข้อบังคับของหลาย ๆ องค์กรก็ยังกำหนดให้ลูกจ้างต้องได้รับการอนุมัติการลาออกเสียก่อน จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบผ่านงาน เงินบำเหน็จ เงินประกัน หรือเงินสวัสดิการต่าง ๆ เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เหล่านี้นี่แหละที่สร้างปัญหาน่าปวดหัวตามมาได้อีกมากมาย จากที่เคยคิดว่าจะจบได้ อาจต้องยืดเยื้อกันไป หากเจ้านายไม่อนุมัติใบลาออก
ทำอย่างไรให้การลาออกถูกต้องและถูกใจทุกฝ่าย ?
ศึกษาระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างละเอียด ดูหัวข้อ “การลาออก” ว่าบริษัทของเรากำหนดให้มีขั้นตอนปฏิบัติอย่างไร ต้องยื่นล่วงหน้ากี่วัน และต้องยื่นต่อใคร
ช่วงเวลาแจ้งการลาออกที่เหมาะสม โดยปกติแล้วข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดหลักเกณฑ์การลาออกไว้ว่า ต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน และข้อตกลงดังกล่าวเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด หากพนักงานปฏิบัติตามเงื่อนไขและระเบียบทุกประการแล้ว ถือว่าได้ลาออกชอบด้วยกฎหมาย คือไม่มีความเสียหายจากการทำงาน นายจ้างไม่มีเหตุที่จะไม่อนุมัติ รวมถึงไม่มีสิทธิ์หักเงินประกัน เงินบำเหน็จ และเงินสวัสดิการต่าง ๆ อย่างแน่นอน
เมื่อตัดสินใจลาออก สิ่งแรกที่ควรทำคือการบอกกล่าวเจ้านายด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นแนวทางที่ให้เกียรติกันมากกว่าการส่งจดหมายลาออกไปให้รู้สึกช็อกก่อนได้พูดจาทำความเข้าใจ บอกเหตุผลที่ตัดสินใจไปทำงานที่บริษัทใหม่ พูดในเชิงบวก และรักษาน้ำใจกับทุกฝ่าย มีเคล็ดลับอยู่นิดนึงว่า ควรวางแผนที่จะบอกข่าวการลาออกกับเจ้านายในตอนเย็นก่อนวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อให้ต่างฝ่ายได้มีเวลานั่งคิดทบทวน และเตรียมรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมาภายหลังการลาออกของเรา
เมื่อพูดคุยกันตรง ๆ จนเป็นที่เข้าใจแล้ว ค่อยส่งจดหมายลาออกตามขั้นตอน วิธีการเขียนใบลาออกที่ถูกต้องก็คือ ใช้แบบฟอร์มที่บริษัทกำหนด ลงวันที่ยื่นใบลาออก และวันที่มีผลลาออกอย่างชัดเจน แล้วอย่าลืมเก็บสำเนาใบลาออกไว้ด้วย
การบอกกล่าวล่วงหน้าเกี่ยวกับการลาออก แสดงให้เห็นถึงการเตรียมพร้อมของตัวเราเอง ขณะเดียวกันก็เป็นการให้เกียรติกับเจ้านายในการเตรียมแผนรับสถานการณ์นี้ด้วย แม้ในกฎหมายแรงงานจะกำหนดวันแจ้งล่วงหน้าไว้ประมาณ 1 เดือน แต่เราสามารถให้เวลามากกว่านั้นได้เท่าที่จำเป็น ถือว่าเราทำดีที่สุดแล้วในการให้โอกาสองค์กรได้รับสมัครคนใหม่หรือแม้แต่หาพนักงานอีกคนมาเรียนรู้งานต่อจากเรา
เตรียมการส่งมอบงานให้เรียบร้อย อาจให้เวลาในการสอนงานประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อแสดงถึงความเอื้อเฟื้อของเรา นอกจากนี้ยังควรจัดเอกสารและไฟล์ต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ ตลอดจนคืนอุปกรณ์ต่าง ๆ ของบริษัท รหัสเข้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บัตรพนักงาน ฯลฯ ให้เรียบร้อย
แม้จะเลือกลาออกจากงานแล้ว ก็อย่าลืมว่าความสัมพันธ์ระหว่างคนเป็นเรื่องยืนยาวมากกว่า ควรเหลือช่องทางในการติดต่อสัมพันธ์กันไว้บ้าง เผื่อในอนาคตอาจกลับมาร่วมงานกันได้อีก พูดคุยร่ำลากันด้วยดี จากไปให้คนคิดถึง ไม่แน่ว่าสายสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรเก่าอาจเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในวันข้างหน้า เห็นไหมว่า…หากใส่ใจรายละเอียดเกี่ยวกับการลาออกให้มากพอ ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบ ให้เกียรติเจ้านายและเพื่อนร่วมงาน การลาออกก็ไม่ใช่อุปสรรคในการออกไปเติบโตในสายอาชีพกับองค์กรใหม่อีกต่อไป
มีตัวอย่างจริงๆมาเล่าให้ฟังประกอบการบรรยาย
เป็นเรื่องราวของพี่เอวาเอง ตอนที่ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการสำนักงานของบริษัทตกแต่งภายใน คือทำอยู่ประมาณ 3-4 ปี อิ่มตัวละ อยากกลับบ้าน ก็บอกเจ้านายไปว่า
พี่เอวา : “เฮีย (สนิทกับเจ้านายมาก คือเรียก เฮีย เรียก เจ้ ได้เลยอ่ะ) วา อยากเรียนต่อปริญญาเอก(ข้ออ้างน่ะ คือไม่รู้จะอ้างอะไร อ้างเรียนต่อก็แล้วกัน) วาคิดว่าทำงานไปด้วย เรียนไปด้วยไม่ไหวแน่ วาขอลาออก วันที่ 25 นี่นะ”
เฮีย : แล้วมึงไม่ออกสิ้นเดือนว่ะ มึงออกทำไมวันที่ 25 (ด้วยความที่สนิทมาก สรรพนามเรียก ก็จะ เฮีย เฮีย มึง มึง)
พี่เอวา : โถ.....เฮีย บริษัทเฮีย ตัดเงินเดือนที่วันที่ 25 วาก็ออกวันที่ตัดเงินเดือนพอดีไง
เฮีย : กูคิดเพิ่มให้มึงไม่ได้หรือไง มึงอยู่ต่ออีก 5 วันเลย
พี่เอวา : เฮียเป็นคนคิดเงินเดือนหรอ.........ใช่หรอ..........(คนทำเงินเดือนก็พี่เอวานี่ล่ะ) เฮียอย่าวุ่นวาย วาจะออกวันที่ 25 เฮียอย่าห้าม
สุดท้ายพี่เอวาก็ทำงานวันสุดท้ายคือวันที่ 25 นั่นละ ถึงแม้เฮียจะไม่ยอมเซ็นใบลาออกให้ก็ตาม คือใจมันไม่อยู่อ่ะนะ เฮียจะเพิ่มเงินให้อีกเท่าไหร่ก็คงไม่อยู่ ออกมาแล้วก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะแจ้งลาออกถูกต้อง สิ้นเดือน เงินเดือนก็เข้า(บริษัทคือตัดรอบเงินเดือนวันที่ 25 แต่จ่ายสิ้นเดือน) ลองไม่เข้าจะฟ้องศาลแรงงาน
ออกมาคราวนั้น เฮียไม่เซ็นใบลาออกให้นะ พี่เอวาออกมาแล้วหลายบริษัท ก็แค่เข้าไปบอกเจ้านายนั่นล่ะว่าจะออกนะ พี่เอวาไม่เคยเขียนใบลาออกเลย ออกจากที่เก่าไม่เกิน 2 เดือน ก็ได้งานใหม่ตลอดๆ ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร คือพูดจาตกลงกัน เราไม่อยากทำงานด้วยกันแล้ว อยู่ทำไปมันก็ไม่มีความสุขหรอก ก็แสดงเจตนาว่าขอยกเลิกสัญญาจ้างงาน แค่นี้ก็มีผลแล้วละ
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ผลงานอื่นๆ ของ พี่เอวา HRนักกฎหมาย ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ พี่เอวา HRนักกฎหมาย
ความคิดเห็น